มูลนิธิโตโยต้าโมบิลิตี้เผยรายชื่อ 16 ทีมที่ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศโครงการสถาปัตยกรรมเมืองเพื่อความท้าทายแห่งอนาคต (City Architecture for Tomorrow Challenge)



  • นักสร้างสรรค์นวัตกรรมมากกว่า 90 ทีมจากกว่า 20 ประเทศส่งโซลูชันแก้ปัญหาการสัญจรด้วยข้อมูล (Data-Driven Solutions) ที่มีความล้ำสมัยเพื่อปรับปรุงการสัญจรและการวางผังเมืองในกัวลาลัมเปอร์
  • ทีมที่ได้รับเลือกให้ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศมาจากประเทศออสเตรเลีย บราซิล เยอรมนี อินเดีย มาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และจะได้รับเงินสนับสนุนสูงสุดทีมละ 5,000 ดอลลาร์เพื่อทำการทดสอบความเป็นไปได้ของแนวทางแก้ปัญหา

 

กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย - Media OutReach - 17 สิงหาคม 2563 - 16 ทีมเจ้าของแนวคิดเพื่อการแก้ปัญหาสุดล้ำผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศในโครงการสถาปัตยกรรมเมืองเพื่อความท้าทายแห่งอนาคต หรือ City Architecture for Tomorrow Challenge ซึ่งมูลนิธิโตโยต้าโมบิลิตี้ (Toyota Mobility foundation) ได้เปิดตัวโครงการดังกล่าวไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 โดยเชิญชวนให้ทั่วโลกเสนอโซลูชันแก้ปัญหาการสัญจรด้วยข้อมูลที่มีพลังสร้างสรรค์และชาญฉลาดเพื่อแก้ปัญหาการสัญจรและการวางผังเมืองในกัวลาลัมเปอร์




ช่วงเปิดรับสมัครซึ่งสิ้นสุดไปเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 มีทีมกว่า 90 ทีมจากทั่วโลกส่งแนวคิดทางเทคโนโลยีชั้นสูงสุดล้ำที่จะพลิกโฉมการออกแบบผังเมืองด้วยการนำข้อมูลมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ทางมูลนิธิฯ ได้เลือกทีมตามรายชื่อด้านล่างนี้ให้ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศทั้งหมด 16 ทีม ซึ่งนำเสนอแนวคิดได้ตรงประเด็นปัญหาและเกณฑ์การประเมินของโครงการทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ ความคุ้มค่า ความเป็นไปได้ ความยั่งยืน และลักษณะทางเทคนิค ลำดับต่อไป ทีมเหล่านี้จะต้องนำแนวคิดของพวกเขาเข้าสู่ขั้นตอนการทดสอบความเป็นไปได้ (POC) ซึ่งในขั้นนี้แต่ละทีมจะได้รับเงินทุนสนับสนุนสูงสุด 5,000 ดอลลาร์ นอกจากนี้ พวกเขาจะได้เข้าถึงชุดข้อมูลจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เป็นพันธมิตรกับโครงการ ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถระบุปัญหาด้านการสัญจรที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของกัวลาลัมเปอร์ได้

 

Pras Ganesh ผู้อำนวยการโครงการมูลนิธิโตโยต้าโมบิลิตี้ กล่าวว่า "พวกเราตื่นเต้นกับการประกาศแนวคิดระดับโลกทั้ง 16 แนวคิดนี้ ซึ่งสะท้อนอนาคตของการวางผังเมืองและการสัญจรด้วยข้อมูลที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ เราตั้งตารอที่จะได้ร่วมงานกับทีมผู้เข้ารอบรองชนะเลิศนี้เพื่อช่วยให้แนวคิดของพวกเขาเกิดขึ้นจริงและเข้าสู่ขั้นตอนทดสอบความเป็นไปได้ที่จะเป็นประโยชน์ต่อไป"

 

ทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ 16 ทีม มีดังนี้:

ชื่อบริษัท

ประเทศ

รายละเอียดแนวทางแก้ปัญหา

ARS T&TT

อินเดีย / เนเธอร์แลนด์

โซลูชันคลังข้อมูลจราจรโดยใช้เทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิงการจัดการเครือข่ายการขนส่งที่ครอบคลุมสำหรับทุกคน

Asia Mobiliti

มาเลเซีย

การวิเคราะห์ระบบขนส่งไมโครทรานซิสและการสัญจรแบบออนดีมานด์เพื่อการเชื่อมโยงระหว่างต่อแรกและต่อสุดท้าย (first-mile/last-mile connectivity)

GeoSpock

สหราชอาณาจักร

เทคโนโลยีฐานข้อมูลการวิเคราะห์เพื่อรวมข้อมูลเมืองอัจฉริยะและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (multimodal) ขั้นสูงให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

Hayden AI Technologies

สหรัฐอเมริกา

แพลตฟอร์มรวบรวมการสัญจรที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์เพื่อยกระดับความปลอดภัยและประสิทธิภาพในเมืองที่อัจฉริยะยิ่งขึ้น

iLocator

เยอรมนี

การรวบรวมข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานจากบุคคลที่สาม (3rd party) และเซ็นเซอร์สำหรับแมชชีนเลิร์นนิงและการวิเคราะห์ด้วยปัญญาประดิษฐ์

KERB

มาเลเซีย

มาร์เกตเพลสสำหรับจอดรถแบบ Peer-to-peer (P2P) และแพลตฟอร์มจัดการการจอดรถ B2B แบบไร้การสัมผัส + ผ่านอุปกรณ์มือถือ

Liftango

ออสเตรเลีย

การกำหนดเวลาตามความต้องการการใช้งานและการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเส้นทางสำหรับการขนส่งระหว่างเมืองและท้องถิ่น

Milênio Bus

บราซิล

การวิเคราะห์จำนวนผู้โดยสารแบบเรียลไทม์เพื่อการขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ

Mytraffic

มาเลเซีย

แพลตฟอร์มเมืองอัจฉริยะพร้อมระบบปรับปรุงประสิทธิภาพไฟจราจรผ่านระบบวิดีโอสตรีมมิง

Numina

สหรัฐอเมริกา

การวัดและวิเคราะห์ความต่อเนื่องของระบบจราจรหลายรูปแบบ (multimodal) โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์วิทัศน์ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความเป็นส่วนตัว

Parkit

มาเลเซีย

แพลตฟอร์มแบ่งปันที่จอดรถแบบ Peer-to-peer (P2P)

Rapid Flow Technologies, Inc.

สหรัฐอเมริกา

การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบสัญญาณจราจรด้วยปัญญาประดิษฐ์โดยการสื่อสารแบบสองทางระหว่างรถยนต์และผู้เดินถนน

RUNWITHIT Synthetics

แคนาดา

การทำแบบจำลองข้อมูลสังเคราะห์เชิงพื้นที่ด้วยปัญญาประดิษฐ์สำหรับการสัญจร การใช้พลังงานไฟฟ้า และการเคลื่อนที่ของมนุษย์

Sensagrate

สหรัฐอเมริกา

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์วิทัศน์และการวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ด้วยปัญญาประดิษฐ์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการจราจรและความปลอดภัย

Spot Parking

ออสเตรเลีย

เทคโนโลยีสร้างแผนที่ดิจิทัลสำหรับกฎการจอดพาหนะริมทางและอัลกอริทึมค้นหาที่จอดพาหนะเพื่อการสัญจรในเมืองที่ดีขึ้น

UNL

สิงคโปร์

แพลตฟอร์มระบุปัญหาอัจฉริยะสำหรับบริการนำทางและบริการด้านตำแหน่ง

 

การสร้างแนวคิดนวัตกรรมขับเคลื่อนด้วยข้อมูลสู่ความเป็นจริง

มูลนิธิโตโยต้าโมบิลิตี้จะยังคงทำงานร่วมกับพันธมิตรทางกลยุทธ์ต่าง ๆ รวมถึง ศาลาว่าการกรุงกัวลาลัมเปอร์ (DBKL), องค์กรเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งมาเลเซีย (MDEC) และพันธมิตรทางด้านข้อมูลในการสนับสนุนทีมผู้ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศเพื่อพัฒนาแนวคิดของพวกเขาจนกว่าจะมีการคัดเลือกทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศในเดือนตุลาคม ผ่านเงินทุนสนับสนุน ข้อมูลด้านการสัญจร และคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญและคณะกรรมการผู้ให้การสนับสนุนโครงการนี้

 

มูลนิธิโตโยต้าโมบิลิตี้หวังว่าโครงการสถาปัตยกรรมเมืองเพื่อความท้าทายแห่งอนาคตนี้จะปลดล็อคนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางเพื่อสานต่อหลักการ 'Mobility for All' ให้กับผู้อาศัยในกัวลาลัมเปอร์ต่อไป

 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tmf-catch.org/

 



The issuer is solely responsible for the content of this announcement.
เกี่ยวกับมูลนิธิโตโยต้าโมบิลิตี้
เกี่ยวกับมูลนิธิโตโยต้าโมบิลิตี้

มูลนิธิโตโยต้าโมบิลิตี้ก่อตั้งเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2557 เพื่อสนับสนุนการพัฒนาให้สังคมสามารถมีการสัญจรมากขึ้น โดยมูลนิธิมุ่งสนับสนุนระบบการสัญจร และลดความไม่เท่าเทียมกันในด้านการสัญจรของผู้คน โดยใช้ความเชี่ยวชาญของโตโยต้าทางด้านเทคโนโลยี ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานไม่ว่าจะเป็น สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร สถาบันวิจัย และองค์กรอื่นๆ เพื่อระบุปัญหาด้านการสัญจรทั่วโลก รวมถึงการแก้ปัญหาการเดินทางสาธารณะในเมือง การขยายการใช้งานการสัญจรต่อเนื่องหลายรูปแบบ และการพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาสำหรับคนรุ่นต่อ ๆ ไป

SOURCE:

Toyota Mobility Foundation

CATEGORY:

Business

READ IN:

English, Vietnamese

PUBLISHED ON:

17 Aug 2020

Past Press Releases

MORE

Talk to Media OutReach Newswire today

CONTACT US NOW