พบว่าความพึงพอใจของลูกค้าในประเทศไทยสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก
หลังการระบาดของโรค
ผู้บริโภคคาดหวังที่จะได้รับประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมมากขึ้นไม่ว่าพวกเขาจะเลือกช่องทางใดก็ตาม
กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย - Media OutReach - 20 พฤษภาคม 2564 - งานวิจัยโดย Qualtrics (Nasdaq: XM) ผู้ให้บริการเครื่องมือบริหารประสบการณ์
หรือ Experience Management (XM) อันดับ
1 ของโลก และผู้สร้างสรรค์หมวดหมู่ของการบริหารประสบการณ์
เผยถึงการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมและความคาดหวังของผู้บริโภคในประเทศไทย
และประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่ธุรกิจควรจัดให้มีเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคต
การศึกษาครั้งใหม่จากสถาบัน Qualtrics Experience
Management (XM) ในหัวข้อ "แนวโน้มผู้บริโภคในประเทศไทย ปี 2564" ได้ทำการสำรวจมุมมองของผู้บริโภค
1,000 คนในประเทศไทย การศึกษาชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าบริษัทต่าง ๆ
จะต้องปรับแผนอย่างไรเพื่อมอบประสบการณ์อันยอดเยี่ยมผ่านรูปแบบออนไลน์ ออฟไลน์
และผสานทั้งออนไลน์และออฟไลน์เพื่อดึงดูดและรักษาลูกค้าเอาไว้
"เราเห็นว่าความต้องการและความคาดหวังของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทั่วทั้งโลก
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หากธุรกิจจะปรับตัวและทำได้ดีในสภาพแวดล้อมใหม่นี้ พวกเขาจำเป็นต้องเข้าใจถึง
'วิธีการ' และ 'สาเหตุ' ที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมเหล่านี้
จากนั้น ใช้ข้อมูลนั้นเพื่อลงมือออกแบบและปรับปรุงประสบการณ์ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง"
Harish Agarwal, หัวหน้าฝ่ายโซลูชันและกลยุทธ์ด้านประสบการณ์ของลูกค้า (CX) ของ
Qualtrics ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว
"งานวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคจะไม่ย้อนกลับสู่การใช้ชีวิตแบบเดิม
ๆ อีกต่อไป" Bruce Temkin หัวหน้าสถาบัน Qualtrics XM กล่าว
"ผู้บริโภคได้ปรับตัวสู่สภาพแวดล้อมใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล
และประสบการณ์ที่พวกเขามีต่อแบรนด์ผ่านช่องทางดิจิทัลส่งผลโดยตรงต่อการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้าของพวกเขา
หากต้องการประสบความสำเร็จ องค์กรต่าง ๆ
จำเป็นต้องเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตแทนการพยายามสร้างสิ่งที่เคยเกิดขึ้นแล้วขึ้นใหม่"
แนวโน้มในประเทศไทยที่สำคัญที่พบจากการศึกษา:
- ความพึงพอใจของผู้บริโภคในประเทศไทยสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก
สามในสี่ของผู้บริโภคในประเทศไทย
(74%) กล่าวว่าพวกเขาพึงพอใจกับปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ของตน
ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 66% โดยบริษัทประกันสุขภาพ (90%) และบริการสตรีมมิง
(88%) ได้รับความพึงพอใจในระดับสูงสุด
ที่ได้คะแนนตามมาไม่ห่างคือธนาคารและบริการจัดส่งพัสดุ (85% ทั้งคู่)
- ผู้บริโภคหันมาใช้บริการระบบดิจิทัล
และส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่กลับใช้บริการรูปแบบเดิม การสร้างการมีส่วนร่วมส่วนใหญ่ที่เปลี่ยนมาทำผ่านช่องทางดิจิทัลระหว่างที่เกิดโรคระบาด
ทำให้เกิดการสร้างความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างพฤติกรรมที่ผู้บริโภคจะค่อย ๆ เปลี่ยนไป
และพฤติกรรมที่พวกเขาจะเปลี่ยนกลับมา ซึ่งยากที่จะเกิดขึ้น
○
การทำธุรกรรมและการบริการตนเอง
รวมมถึงการค้าปลีกและซื้อข้าวของเครื่องใช้ทางออนไลน์
การใช้บริการส่งอาหารถึงบ้าน ธนาคารออนไลน์ การติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
การเรียนออนไลน์ และการชมเนื้อหาต่าง ๆ ผ่านบริการสตรีมมิ่ง คาดว่าจะเพิ่มขึ้น
ผู้บริโภคยังกล่าวด้วยว่าพวกเขาคาดว่าจะรับคำปรึกษาทางการแพทย์ผ่านทางออนไลน์อีกด้วย
○
ผู้ตอบแบบสอบถามยังกล่าวด้วยว่าพวกเขาตั้งใจที่จะพบเพื่อนและครอบครัวแบบพบหน้า
แม้ว่าหลายคนกล่าวว่าจะเข้าคลาสออกกำลังกายหรือบริการทางศาสนาทางออนไลน์
- การบริการลูกค้าเป็นตัวสร้างความแตกต่างที่สำคัญ
ผู้บริโภคมีความรู้เกี่ยวกับทางเลือกในการซื้อสินค้ามากกว่าก่อนหน้านี้
และองค์กรต่าง ๆ
จำเป็นที่จะต้องพัฒนาคุณภาพหรือราคาของผลิตภัณฑ์และบริการให้ดีกว่าที่มีอยู่ในตลาด
จากการศึกษาพบว่า 36% ของผู้บริโภคคนไทยมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าจากองค์กรที่ปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างดี
ซึ่งเป็นค่าที่สูงที่สุดในโลก เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยในการตัดสินใจซื้อพบว่า
ผู้บริโภค 31% ให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้ามากที่สุด 25%
จะเลือกซื้อจากบริษัทที่มีการตอบแทนสังคม และ 9% ให้ความสำคัญกับเรื่องราคาที่คุ้มค่า
- ผู้บริโภคมีความคาดหวังมากขึ้นที่จะได้รับบริการที่ยอดเยี่ยมในทุกแพลตฟอร์ม
องค์กรจำเป็นต้องลงทุนในเรื่องการบริการลูกค้าที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการ
ไม่ว่าจะเป็นการบริการลูกค้าแบบออนไลน์ แบบต่อหน้า หรือที่รวมทั้งสองแบบ
จากการศึกษาพบว่าผู้บริโภค 26%
ต้องการความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาผ่านระบบบริการตนเอง
ตามมาด้วยการขอรับความช่วยเหลือผ่านระบบแช็ตออนไลน์ 25% ผ่านทางโทรศัพท์ 21%
และเดินทางไปด้วยตัวเอง 15%
- ความพึงพอใจนำมาสู่ความไว้วางใจและการสนับสนุน ประสบการณ์ที่ดีนำมาสู่ความไว้วางใจและการสนับสนุนที่มากขึ้น
ผู้บริโภคที่ได้รับประสบการณ์ที่ดีจากองค์กรในอุตสาหกรรมหลัก ๆ เช่น ระบบการศึกษา
โรงพยาบาล/คลินิกทางการแพทย์ และหน่วยงานทางราชการ
มีแนวโน้มที่จะไว้วางใจองค์กรเหล่านั้น
และเมื่อผู้บริโภคไว้วางใจองค์กรเหล่านั้นแล้ว พวกเขามีแนวโน้มที่จะแนะนำให้กับเพื่อนและสมาชิกในครอบครัว
ซึ่งช่วยดึงดูดลูกค้ารายใหม่ ๆ เข้ามา
องค์กรต่าง ๆ
จะต้องเปลี่ยนและปรับตัวตามความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงต่อไปในโลกหลังสิ้นสุดโรคระบาด
การที่จะทำเช่นนั้นได้
องค์กรจำเป็นต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์ซึ่งจะบอกว่าผู้บริโภคต้องการและคาดหวังสิ่งใด
เพื่อที่จะเข้าใจถึงความคาดหวังของลูกค้าและสามารถวางแผนสร้างประสบการณ์ที่จะดึงดูดและรักษาลูกค้าเอาไว้
ข้อมูลเพิ่มเติม:
The issuer is solely responsible for the content of this announcement.